Logo-CPF-small-65png
มาตรฐานฟาร์ม

มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้

มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร ในฐานะเจ้าของฟาร์ม ขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง

มาตรฐานฟาร์ม

หลังจากที่เรา ได้วางแผน เรื่องการสร้างฟาร์ม ขึ้นมาแล้ว มีอะไรบ้างในฐานะที่เราเป็นเจ้าของ และผู้ดูแลต้องรู้บ้าง เพื่อประโยชน์ของฟาร์ม และสัตว์ที่เราเลี้ยง มาทำความเข้าใจกันเลย ว่าทำไมต้องมี มาตรฐานฟาร์ม สำหรับการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย และเราก็จะ โกอินเตอร์ไปด้วยกันนะ

องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลและกำหนดมาตรการต่างๆ ในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดประเทศ ซึ่งเริ่มมีการบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกองค์กรดังกล่าว จึงมีความตื่นตัวและจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตปศุสัตว์ในประเทศไทย คือ กรมปศุสัตว์ ได้ออกกฎ ระเบียบ กฎหมาย รวมถึงมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก และองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ทำให้ใครก็ตาม (รวมถึงเราด้วย ต้องมี มาตรฐาน) เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนด ทั้งในประกเทศแลต่างประเทศ กรณีที่เราต้องส่งออก

ถ้ามองในมุมกลับกัน ถ้าเราเป็นผู่บริโภค หรือว่าคนที่ต้องการซื้อหาสินค้า และอาหารที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ หรือสินค้าอื่นๆ เราก็จะมั่นใจได้ว่า อาหาร หรือสินค้า ที่เรากำลังจะเลือกซื้อ ปลอดภัยกับ เราและครอบครัว หรือคนที่เรารักครับ

มาตรฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตร (GAP) และด้านการผลิตปศุสัตว์ ซึ่งมีมาตรฐานที่สำคัญดังนี้

  • มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์
  • การควบคุมการใช้ยาในมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์
  • ข้อกำหนดการควบคุมการใช้ยาสำหรับสัตว์

มาดูรายละเอียด มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไปขอเรียกว่า กระทรวง นะครับ ได้มีการ ประกาศเรื่องมาตรฐาน ไว้ 3 เรื่อง คือ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่ หมู โคนม และการผลิดน้ำนมดิบ ในประเทศ

โดยให้ผู้ประกอบการ ที่ต้องการขอใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์จากกรมปศุสัตว์ ดำเนินการ ยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐานต่อปศุสัตว์จังหวัด หรือปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ฟาร์มตั้งอยู่ หลังจากที่เรายื่นแล้ว ก็จะมี เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เข้ามาที่ฟาร์มของเรา และไปทำการตรวจสอบฟาร์มเพื่อดำเนินการต่อไป

ทำไม ? ต้องจัดทำมาตรฐานฟาร์ม

  • อย่างแรกก็เพื่อให้ ฟาร์มของเราเป็นที่ยอมรับ และลูกค้าก็จะยอมรับ เพราะว่ามีคุณภาพ อีกทั้งมีมาตรฐานเดียวกันด้วย ง่ายๆคือคนซื้อก็จะได้สบายใจ
  • เป็นการบอกกับผู้บริโภค หรือลูกค้าของเราว่า เขาจะปลอดภัย จากสินค้าและผลิตภันฑ์ จากฟาร์มเรา เราได้รับมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ เช่น มีสินค้าสองชิ้น อีกชิ้นมีรับรอง อีกชิ้น ไม่มีอะไรรับรองเลย ถ้าเราต้องเลือก เราก็จะเลือกอันที่ดูปลอดภัยใช่ไหมครับ
  • ถ้าเราได้มาตรฐานฟาร์มตามที่กำหนด เราจะได้ความสะดวกในการส่งออก
  • เป็นการควบคุมมลภาวะจากฟาร์ม ที่อาจจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน
  • ทำให้สามารถควบคุมโรค ป้องกัน และกำจัดโรคได้

ถ้าเราลองทำความเข้าใจ แล้ว หลักๆของการจัดทำ มาตรฐานฟาร์ม ทั้ง 5 ข้อข้างต้นนี้ ก็เพื่อให้ 3 ส่วนที่สำคัญกับ เรา คือ เราเอง ที่เป็นเจ้าของฟาร์ม  ลูกค้า หรือผู้บริโภค และชุมชนรอบเรา ทุกอย่างสนับสนุน และช่วยเหลือกัน ผู้บริโภคก็จะ มั่นใจ กับสินค้า และเจ้าของฟาร์มก็มั่นใจ ในสินค้า และผลิตภันฑ์ ของตัวเองด้วย ในส่วนของชุมชนรอบฟาร์ม ก็จะได้อยู่กันอย่างดี ไม่มีมลภาวะ เรื่องเสียง กลิ่นรบกวน และเรื่องที่สำคัญที่สุด คือการควบคุม และป้องกันโรคในฟาร์ม ไม่ให้มีการติดต่อจากภายนอก หรือจากเราไปสู่ฟาร์มอื่น

ส่วนประกอบสำคัญของฟาร์มที่ขอใบรับรองมาตรฐาน

  1. มีที่อยู่ชัดเจน และมีการออกแบบฟาร์ม หรือสิ่งก่อสร้าง โรงเรือน ที่เหมาะสม การออกแบบที่ดี จะทำให้เราใช้พื้นที่ได้เหมาะสม และมีประโยชน์ที่สุด
  2. ก่อนเข้า ออกฟาร์ม ต้องมีการฆ่าเชื้อโรค หรือมีการป้องกันการแพร่เชื้อจากภายนอก
  3. มีการจัดการของเสียจากฟาร์ม ตามหลักสุขาภิบาล
  4. ขนาดของโรงเรือน ต้องเหมาะสมกับจำนวนสัตว์
  5. จัดการเรื่องอาหารสัตว์อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามหลัก สุขศาสตร์
  6. มีการจดบันทึกข้อมูล และจัดทำคู่มือการจัดการฟาร์ม
  7. มีการดูแลเรื่องสุขภาพ โปรแกรม การให้วัคซีนป้องกันโรค และการให้ยำรักษาเมื่อสัตว์เป็นโรค
  8. มีการจัดการส่วนของบุคลากร สัตวแพทย์ สัตวบาล เพียงพอเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ และมีสวัสดิการสังคม และการตรวจสุขภาพประจำปีให้บุคลากร

ถ้าฟาร์มของเรามี มาตรฐาน แล้วจะมีประโยชน์อย่างไร

สำหรับเจ้าของฟาร์มแล้ว ถ้าฟาร์มของเรามีมาตรฐาน ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะมีประโยชน์หลายอย่างกับฟาร์ม มากๆเลยครับ เพราะว่า เมื่อเราทำตามข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัย การควบคุมโรค การดูแล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม รวมไปถึงสัตว์ ที่เราเลียงอย่างดีแล้ว ฟาร์มของเราก็จะได้ประโยชน์ดังนี้

  1. กรณีที่เป็นฟาร์ม โคนม และสุกร สามารถ ทำการเคลื่อนย้ายสัตว์ เข้า หรือผ่านเขตปลอดโรคระบาดได้ โดยต้องปฏิบัติตาม ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการนำเข้าหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร
  2. ฟาร์มของเราจะได้รับการจัดสรร วัคซีนป้องกันโรค ปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาต์สุกรให้มีจำหน่ายอย่างเพียงพอ ตามปริมาณสุกรของฟาร์มเลี้ยงสุกรมาตรฐาน เพราะจากบันทึก และการแจ้งจำนวนสัตว์ของฟาร์มที่ได้ทำการแจ้งไว้
  3. ฟาร์มของเราจะได้รับ บริการ การทดสอบโรคแท้งติดต่อในพ่อแม่พันธุ์สุกร รวมทั้งโรคแท้งติดต่อและวัณโรคในโคนม โดยไม่คิดมูลค่าสำหรับฟาร์มที่ได้มาตรฐาน
  4. และนอกจากนี้แล้ว กรมปศุสัตว์จะให้บริการตรวจวินิจฉัย และชันสูตรโรคสัตว์ โดยไม่คิดมูลค่า สำหรับตัวอย่างที่ส่งตรวจ จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐาน

ประโยชน์เยอะใช่ไหมครับ ในฐานะเจ้าของฟาร์ม การที่จะทำให้ฟาร์มของเราได้มาตรฐาน เป็นเรื่องสำคัญ และดีกับฟาร์มของเรา ดีกับลูกค้า และสังคมรอบโรงงานเราด้วย แล้วเราจะเริ่มขั้นตอนการทำ หรือการจัดการมาตรฐานต่างๆ ได้อย่างไร

เอกสารต่างๆ สามารถเข้าดูได้จากที่นี่ http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/2016-05-01-14-47-42/2016-05-03-02-04-15 จะมีเอกสาร และเช็คลิสต์ว่าต้องทำอะไรบ้าง ขั้นตอนและวิธีการ

เดี๋ยวครับ อย่างเพิ่มถอดใจ หรือว่า ดูว่าขั้นตอนและเอกสาร มีเยอะและซับซ้อน  ผมจะบอกว่า จริงๆ แล้ว มีผู้ช่วย หรือมืออาชีพที่คอยดูแล และจัดการครบทุกอย่างของเรื่องฟาร์มไว้ในที่เดียว เหมือนว่าเป็นพี่เลี้ยงให้ ในตอนที่เราเริ่มสร้าง ดีกว่าที่มีคนที่เราปรึกษาได้ เป็นมืออาชีพ และช่วยเหลือ

ที่เหลืออย่างเดียว คือความมุ่งมั่น ที่จะทำให้ฟาร์ม หรือธุรกิจที่คุณต้องการเริ่มสำเร็จ

ที่นี่เป็นเพื่อน เป็นคู่คิด และเป็นมืออาชีพ เข้ามาหา ปรึกษา ขอคำแนะนำ ได้ที่นี่ครับ https://www.cpffarmsolutions.com และเข้ามาที่เมนู บริการลูกค้าอาหารสัตว์ > บริการระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภันฑ์ เข้าโดยตรงได้จากลิงก์นี้ https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/gap-service

ที่นี่มีมืออาชีพ ที่อยู่ในธุรกิจ มามากว่า 20 ปี เชียวชาญในทุกเรื่องฟาร์ม เช่น บริการให้คำปรึกษา แนะนำ อบรม และช่วยตรวจประเมินฟาร์ม หรือโรงงานของลูกค้าอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เพื่อใช้ในการยื่นขอมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานฟาร์ม GAPระบบมาตรฐานและความปลอดภัยฟาร์ม (GAP/ SHE) และ ระบบมาตรฐานและความปลอดภัยโรงงาน (GHP/ HACCP/ HALAL/ SHE/ ISO 9001) เพื่อให้ได้มาซึ่งการรับรองคุณภาพของการผลิตอาหารส่งต่อความมั่นใจให้ตลาดชั้นนำและผู้บริโภค

เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง

📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้
📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

แชร์

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)