Logo-CPF-small-65png

Search Results for: อีแวป

แจกฟรี เทคนิค การประโยชน์โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ให้เต็มประสิทธิภาพ

ฟรี! เทคนิค การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ เชื่อว่าพี่น้องผู้เลี้ยงสุกรที่มีโรงเรือนระบบอีแวป มีการควบคุมความเร็วพัดลมด้วยระบบอินเวอร์เตอร์กันเป็นส่วนใหญ่  คำถามคือ เราใช้งานอย่างจริงจังเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง? โดยสามารถใช้บทความนี้เป็นแนวทางได้เลยครับ กรอก อีเมล เพื่อดาวโหลด เอกสารฟรี ได้เลยครับ

แจกฟรี เทคนิค การประโยชน์โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ให้เต็มประสิทธิภาพ Read More »

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 7

ในแต่ละวันสุกรในโรงเรือนปิดที่มีระบบทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ผันแปรตามสภาพอากาศทั้งภายนอกและภายในโรงเรือน การตั้งค่าอุปกรณ์อัตโนมัติและความใส่ใจต่อพฤติกรรมสุกรของผู้ดูแลระบบ (ส่วนใหญ่จะเป็นสัตวบาล) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง สุกรในโรงเรือนเปรียบเสมือนปลาที่อาศัยอยู่ในตู้ปลา   ความแข็งแรง ความสบายและการอยู่รอดปลอดภัยขึ้นกับเจ้าของปลา ตัวปลาไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ ทำได้แค่แสดงอาการ (พฤติกรรม)ให้เจ้าของเห็น สุกรก็เช่นเดียวกันความเอาใจใส่ของผู้ดูแลระบบต่อพฤติกรรมของสุกรจึงเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างความสุขสบาย (Pig Comfort) ให้กับสุกรได้   และแน่นอนว่าถ้าสุกรอยู่สุขสบาย  ก็จะให้ผลผลิตที่เป็นไปตามที่เราต้องการ ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ผ่านๆมาว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสบายของสุกรคือ ความต้องการการระบายอากาศ อุณหภูมิและความชื้น ส่วนความเร็วลมเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทั้งสามตัวเป็นไปตามที่สุกรต้องการ ในตอนนี้เราจะทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมด้านอุณหภูมิและความชื้นว่าเราจะบริหารจัดการโรงเรือนอีแวปอย่างไรให้เหมาะกับความต้องการของสุกรให้มากที่สุดซึ่งมีโอกาสที่ผันแปรได้ 4 รูปแบบคือ          กรณีที่ 1. อุณภูมิสูงความชื้นสูง                   กรณีที่ 2. อุณหภูมิสูงความชื้นต่ำ          กรณ๊ที่ 3. อุณภูมิต่ำความชื้นสูง                   กรณีที่ 4. อุณหภูมิต่ำความชื้นต่ำ กรณีที่ 1.  อุณภูมิสูงความชื้นสูง      เกิดขึ้นในฤดูฝนเป็นส่วนใหญ่เพราะประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นมีหนาวช่วงสั้นๆเท่านั้น มีฝนตกมาเมื่อใหร่ก็มีโอกาสเกิดอุณภูมิสูงความชื้นสูงทันทีและอาจจะเป็นช่วงเวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปีด้วยซ้ำ      การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิสูงความชื้นสูงให้จินตนาการถึงห้องซาวน่า       จะเห็นได้ว่าแม้ซาวน่าจะมีประโยชน์แต่มีข้อจำกัดมากมายข้อที่สำคัญคือห้ามคนท้องเข้าห้องอบซาวน่า แล้วลองจินตนาการถึงสุกรอุ้มท้องที่อยู่ในสภาพอุณหภูมิสูงความชื้นสูงดูว่าจะเป็นเช่นไร  แม่ว่าอาจจะไม่ถึงขนาดห้องอบซาวน่าแต่ต้องไม่ลืมว่าหนึ่งในข้อกำหนดของซาวน่าคือไม่ซาวน่านานเกินไป อบตัว 15-20 นาทีก็เพียงพอแล้ว แต่สุกรของเราไม่สามารถเดินหนีออกจากโรงเรือนที่อุณหภูมิสูงความชื้นสูงได้  

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 7 Read More »

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 6

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่องการรับและการสูญเสียความร้อนในตัวสุกร หรืออีกนัยหนึ่งคือการถ่ายเทความร้อนในโรงเรือนปิด ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนนะครับว่าสุกรไม่มีต่อมเหงื่อดังนั้นจะใช้ความรู้สึกของผู้เลี้ยง (คน-มนุษย์ซึ่งมีต่อมเหงื่อ) เป็นตัวตัดสินว่าสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมิได้ ความร้อนสามารถถ่ายเทได้ด้วย 4 ปัจจัยคือ การนำความร้อน (Conduction) การระเหย (Evaporation) การแผ่รังสี (Radiation) การพาความร้อน (Convection) การนำความร้อน (มีผลต่อร่างกายสุกร 13%) การที่ร่างกายไปสัมผัสกับพื้นหรือผนังคอกที่ร้อนกว่า ทำให้ความร้อนจากพื้นคอกถ่ายเทไปยังผิวหนังจึงทำให้รู้สึกร้อน  การที่ร่างกายไปสัมผัสกับพื้นหรือผนังคอกที่เย็นกว่า ทำให้ความร้อนจากผิวหนังถ่ายเทไปยังพื้นคอกจึงทำให้รู้สึกเย็น  ปัจจัยที่ทำให้การนำความร้อนเกิดขึ้นได้สูง/ต่ำคือ ระดับอุณหภูมิของพื้นผิว การระเหย (มีผลต่อร่างกายสุกร 17%) การระเหยของน้ำที่อยู่บริเวณผิวหนัง เมื่อน้ำระเหยก็จะดึงดูดเอาความร้อนบริเวณผิวหนังออกไปด้วย จึงทำให้รู้สึกเย็น การระเหยจะเกิดขึ้นสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลมและความชื้นในบรรยากาศ การแผ่รังสี (มีผลต่อร่างกายสุกร 30%) ถ้าภายนอกโรงเรือนอากาศร้อน/หนาวมาก สุกรจะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อน/หนาวโดยที่สุกรไม่ได้สัมผัสกับอากาศโดยตรง การรับ/สูญเสียความร้อนจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่ผนังคอก การพาความร้อน (มีผลต่อร่างกายสุกร 40%)    การเคลื่อนของกระแสลมที่พัดมากระทบกับผิวหนัง และดึงดูดความร้อนบริเวณผิวหนังออกไป ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเย็นคือ อุณหภูมิของอากาศและความเร็วของกระแสลม โรงเรือนสุกรรูปแบบปิดที่มีการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม (Tunnel Ventilation) โดยนำหลักการระเหยของน้ำ (Evaporation) มาใช้ในการลดอุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าโรงเรือน เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 6 Read More »

จัดการโรงเรือนอีแวป

จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 5)

จัดการโรงเรือนอีแวป ในตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่องความต้องการอากาศในสุกรกัน    การเลี้ยงสุกรเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์จึงมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในอดีตเราใช้พื้นที่เลี้ยง 1 ตร.ม.ต่อน้ำหนักสุกร 80 กิโลกรัม  ในปัจจุบันมีแนวคิดที่จะเลี้ยงให้ได้ปริมาณสุกรต่อพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น 0.80 – 1.00 ตร.ม/ตัว (น้ำหนัก 100-105 ก.ก.)  เนื่องจากที่ดินมีราคาสูงขึ้นการทำประชาคมมีความซับซ้อนมากขึ้นค่าก่อสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ   แต่ผู้เลี้ยงต้องตระหนักว่าสุกรเป็นสิ่งมีชีวิตต้องการอากาศหายใจเช่นเดียวกับมนุษย์ ออกซิเจน (Oxygen) คือก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์รวมถึงมนุษย์เราด้วย เพราะถ้าร่างกายขาด ออกซิเจนเพียงไม่กี่นาทีก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อากาศที่สิ่งมีชีวิตหายใจจะมีอ๊อกซิเจนประมาณ 21% นั่นหมายความว่าในโรงเรือนอีแวปทุกพื้นที่ต้องมีปริมาณอากาศที่เพียงพอตามมาตรฐานของสุกร   เราเรียกว่า “ ความต้องการ การระบายอากาศ ” ซึ่งสุกรแต่ละระยะมีความต้องการไม่เท่ากันตามตารางด้านล่าง ถ้าปริมาณอากาศไม่เพียงพอต่อสุกรในโรงเรือน สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ สุกรไม่กระตือรือร้น ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอน กินอาหารลดลง การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ลดภูมิคุ้มกัน และต้องไม่ลืมว่าถ้าปริมาณก๊าซตัวใดตัวหนึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นย่อมทำให้สัดส่วนของอ๊อกซิเจนลดลง อย่างแน่นอน น้องๆสัตวบาลฟาร์มสุกร ที่ต้องการจะบริหารโรงเรือนอีแวปให้ได้ประโยชน์สูงสุด ย่อมต้องไม่ลืมว่ายังมีอีกหนึ่งองค์ความรู้ที่ต้องเข้าใจเนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อ เช่นมนุษย์จึงใช้ความรู้สึกของมนุษย์เป็นตัวกำหนดไม่ได้ นั่นคือ “การรับและการสูญเสียความร้อนในตัวสุกร“ CR : โค้ชวิทธ์

จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 5) Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป4

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4)

การจัดการฟาร์ม โรงเรือนอีแวป มาต่อกันเลยครับ    นอกจากอุณหภูมิแล้วยังมีอีก 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสบายของสุกร (pig Comfort) นั่นคือ ความชื้น ความเร็วลมและความต้องการอากาศ ในช่วงความชื้นต่ำเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ เยื่อบุโพรงจมูกแห้ง ลอกหลุด สุกรจะจามมากขึ้น โอกาสติดเชื้อมากขึ้น จากฝุ่น (endotoxin) กดภูมิคุ้มกัน     สำหรับประเทศไทยช่วงความชื้นต่ำมีโอกาสเกิดน้อยมากส่วนใหญ่เกิดในฤดูหนาวช่วงสั้นๆสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายโดยการเปิดน้ำแพดให้ชุ่มด้านบนของแพดช่วงสั้นๆประมาณ 1 ฟุตเพื่อเพิ่มความชื้นในโรงเรือน ในช่วงความชื้นสูงเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ การระเหยที่ผิวหนังเกิดได้น้อย ทำให้ไม่สามารถทำให้ร่างกายเย็นลงได้ (สุกรไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์การทำให้ร่างกายเย็นลงต้องอาศัยการระเหยน้ำจากผิวหนัง) จึงมีปัญหามากถ้าเกิดร่วมกับอุณหภูมิที่สูง โอกาสติดเชื้อมากขึ้นถ้าอุณหภูมิสูง กดภูมิคุ้มกันเนื่องจากสุกรมีความเครียดสูง       ถ้าจะทำความเข้าใจถึงความเครียดของสุกรในขณะที่ความชื้นสูงและอุณหภูมิสูงให้เราลองอาบน้ำในห้องน้ำที่มีแค่ช่องระบายลมเล็กๆ ในวันที่มีฝนตกและอากาศร้อน เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วให้ยืนนิ่งๆ อยู่ในห้องน้ำซักครึ่งชั่วโมง ความรู้สึกอึดอัดนั้นคือความรู้สึกของสุกร ที่สำคัญสุกรไม่สามารถเดินหนีออกมาจากห้องน้ำได้ ต้องทนอยู่กับความรู้สึกแบบนั้นไปตลอดจนกว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในโรงเรือน      เราสามารถดูว่าความชื้นและอุณหภูมิร่วมกัน จะสร้างความเครียดให้สุกรหรือไม่ โดยนำค่าอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์รวมกับค่าความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าเกิน 170 ถือว่าสุกรอยู่ไม่สบาย ดังนั้นเราต้องบริหารค่าความสบายของสุกรให้ไม่เกิน 170 นั่นเอง การตอบสนองของสุกรต่อความเร็วลม ในช่วงความเร็วลมต่ำกว่าความต้องการของสุกร

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4) Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ ก่อนที่เราจะสังเกตถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต เบื้องต้นเราควรเข้าใจถึงวิธีการประเมินความสบายของสุกร (Pig Comfort) โดยมีสิ่งที่เราต้องสังเกตดังนี้ การนอน การหายใจ การกินอาหาร ความกระตือรือร้น การนอน ท่านอนที่ที่บอกถึงความสบายของสุกรคือการนอนเต็ม พื้นที่ของลำตัวด้านข้าง เหยียดขาออกไปตรงๆเท่าที่พื้นที่ จะเอื้ออำนวย  ทุกส่วนแนบกับพื้นแบบสบายสบาย ถ้าเป็นคอกขังรวมจะนอนแบบลำตัวแนบชิด อาจมีการก่ายขากันบ้างถ้าอยู่ในพื้นที่แคบ การหายใจ สุกรที่อยู่สบายสบายจะมีอัตราการหายใจไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที วิธีนับคือหายใจเข้าจนสุดแล้วหายใจออกจนสุด นับ 1 ถ้าสุกรหายใจเกิน 40 ครั้ง/นาที ถือว่ามีการหอบ ถ้าอากาศร้อนมากๆอัตราการหายใจ/นาที่ จะยิ่งมากขึ้นตามลำดับความร้อนของอากาศ การกินอาหาร สุกรที่อยู่สบายสบาย จะกินอาหารได้มาก จึงเป็นการวิเคราะห์เบื้องต้นถึงสุขภาพสุกร กล่าวคือในเวลาที่สุกรกินอาหารเราควรเดินดูว่าสุกรกินอาหารได้หรือไม่ ตัวที่ไม่กินอาหารมีโอกาสเป็นสุกรป่วย อย่างไรก็ตามถ้าสุกรอยู่ไม่สบายหรือเครียดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะกินอาหารลดลงทำให้ได้สารอาหารไม่ครบตามที่ควรจะได้     ความกระตือรือร้น สุกรเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นมีความสนใจต่อทุกๆสิ่งรอบๆตัวโดยเฉพาะสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อเราเดินเข้าไปในโรงเรือนถือเป็นสิ่งใหม่ สุกรจะเข้ามาดูและทักทายเรา นอกจากนั้นหลังสุกรนอนจนเต็มอิ่ม พฤติกรรมวิ่งเล่นอยอกล้อถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าเราเข้าไปในโรงเรือนแล้วสุกรไม่สนใจเราหรือเอาแต่นอน นั่นเป็นข้อสังเกตว่าสภาพแวดล้อมอาจไม่เหมาะสมต่อความต้องการของสุกร เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสุกรที่มีความสุขอยู่สบายไม่เครียดมีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปเป็นการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต ดังที่กล่าวไว้ในตอนที่

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3 Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป2

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่2

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการ-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ EET-Effective Environment Temperature คืออะไร? อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงสุกรไม่ใช่อุณหภูมิโรงเรือนนะครับ แต่เป็นอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) แล้ว EET คืออะไร เรามาทำความเข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ครับ สุกรนอนอยู่ที่คอกในโรงเรือนอีแวปอุณหภูมิห้อง 24 องศาเซลเซียส กลุ่มสภาพแวดล้อม พื้นรองนอน ความเร็วลม ไฟกก ความรู้สึกของสุกรต่ออุณหภูมิ 1 (กลุ่มควบคุม) พื้นไม้ 0 ไม่มี 24 องศา 2 พื้นปูน 0 ไม่มี ต่ำกว่า 24 องศา/กลุ่ม 1 3 พื้นไม้ 1 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 4 พื้นไม้ 2 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่2 Read More »

จัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป1

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่1

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ได้อย่างไร? ปัจจุบันเทคโนโลยีการประหยัดไฟฟ้าด้วยระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) กำลังได้รับความนิยมเพราะช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ทั้งเครื่องปรับอากาศ พัดลม ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ฯลฯ กินไฟน้อยลงกว่าปกติถึง 35-55% เพราะระบบอินเวอร์เตอร์นี้เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนความเร็วรอบของมอเตอร์ให้เหมาะสมกับการทำงาน ทำให้กินไฟน้อยลง จึงช่วยประหยัดไฟฟ้าได้นั่นเอง วันนี้ไม่เพียงเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้นที่ใช้อินเวอร์เตอร์ เพื่อการประหยัดค่าไฟ แต่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ก็ติดตั้งระบบนี้เพื่อให้รถยนต์สองระบบที่ใช้ไฟฟ้าร่วมด้วยประหยัดไฟมากขึ้น และในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเองก็ได้นำเอาเทคโนโลยีนี้ไปช่วยลดการใช้ไฟฟ้าภายในฟาร์มกันอย่างแพร่หลาย เชื่อว่าพี่น้องผู้เลี้ยงสุกรที่มีโรงเรือนระบบอีแวป มีการควบคุมความเร็วพัดลมด้วยระบบอินเวอร์เตอร์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่จะดีกว่ามั้ย? หากสามารถใช้งานอย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ ถ้าเราเป็นเจ้าของฟาร์มและเป็นผู้ใช้ระบบอินเวอร์เตอร์ด้วยตัวเอง แต่ยังใช้ได้ไม่ถูกต้องตามศักยภาพของระบบ ใช้บทความนี้เป็นแนวทางได้เลยครับ ถ้าเป็นนักลงทุนมีการจ้างสัตวบาลมาควบคุมก็สามารถใช้บทความนี้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของน้องๆสัตบาลว่าอยู่ในระดับไหนและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพตามที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนอุปกรณ์ไว้แล้ว ทำไมต้องสนใจ จัดการฟาร์ม โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ให้ถูกต้อง  1. ประหยัดเงินค่าไฟฟ้าแต่ต้องให้มีจำนวนพัดลมมากกว่าค่ามาตรฐาน จำนวนกี่ตัวขึ้นกับขนาดโรงเรือนเนื่องจากการทำงานของระบบไม่มีการกระชากของไฟฟ้าจากการปิดเปิดพัดลมและปรับความเร็วลมโดยอาศัยการปรับความเร็วในการหมุนพัดลมแทน(เหมือนแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ที่ประหยัดค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบมาตรฐานทั่วๆไป) 2. ความเร็วของพัดลมมีการปรับตามความต้องการของสุกรในแต่ละอายุตามค่ามาตรฐานด้านล่าง 3. ความชื้นรวมกับอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์ต้องไม่เกิน 170 ดังตารางด้านล่าง 4. ความสามารถในการทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับสุกรในแต่ละระยะการเลี้ยงเป็นการผสมผสานระหว่างระบบอินเวอร์เตอร์และการติดตามงานด้านสภาพแวดล้อมของผู้ใช้ระบบ แค่ระบบอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อสุกรในแต่ละระยะการเลี้ยงได้เนื่องจากตัวระบบเองต้องการการตรวจสอบจากผู้ใช้ระบบ หัวใจสำคัญคือ ต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระยะการเลี้ยง สิ่งสำคัญในฟาร์มสุกรขุน ถ้าเราสามารถทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเลี้ยงสุกรนั่นหมายถึงปริมาณอาหารที่สุกรกินนำไปใช้เพื่อการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) ได้ประสิทธิภาพสูงสุดไม่ต้องนำไปใช้เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับสุกร (อากาศหนาวสำหรับสุกร-Lower Critical)

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่1 Read More »

แนะนำระบบ smart farm

ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564

ระบบ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) และ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ อัพเดท  2564 ทำไม เกษตรกร หรือ เจ้าของผู้ดูแลฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำเป็นที่จะต้อง รู้เรื่องการจัดการฟาร์มแบบใหม่ และระบบ smart ฟาร์ม ระบบนี้ จะช่วยให้ฟาร์มของเรา ดีขึ้น ผลผลิตมากขึ้น เจ้าของฟาร์ม เจ้าหน้าที่ และพนักงาน มีความสุขในการทำงานขึ้น ได้อย่างไร ? เรามาดูกันครับ รับรองไม่ยุ่งยาก และเข้าถึงได้ ง่ายๆเลย ระบบ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) หรือฟาร์มอัฉริยะ ระบบนี้ เป็นระบบที่ คอยช่วยเหลือ และคอยดูแลฟาร์มของเรา ให้มีประสิทธิภาพในการผลิด และใช้ต้นทุนในการดูแลที่น้อยลง ทำให้ฟาร์มของเรา ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น และกำไรที่มากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเฝ้าระวัง คอยดูแล เรื่องการจัดการความเสี่ยงเรื่องโรคได้อีกด้วย สามารถดูข้อมูลฟาร์มของเรา หรือรับการแจ้งเตือนทางมือถือ ในเรื่องต่างๆ ได้ ทำให้ผู้บริหารฟาร์ม

ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 Read More »

ยกระดับ‼️ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม CPF ชูเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ สู่ฟาร์มอัจฉริยะ

CPF เดินหน้าผลักดันเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกร หรือคอนเทรคฟาร์ม สู่การเป็นฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm สนับสนุนการนำเทคโนโลยีทันสมัย และระบบออนไลน์ มาใช้ในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมการผลิตเนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรคคุณสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร CPF เปิดเผยว่า CPF มุ่งมั่นยกระดับระบบการบริหารฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มให้นำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ ก้าวสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ ช่วยให้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ด้วยระบบ Smart Farm สามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ทุกที่ทุกเวลา โดยผนึกกำลังกับ TRUE ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) 3 จุดในฟาร์มของเกษตรกร ได้แก่ ประตูทางเข้าออกฟาร์ม หน้าห้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนเข้าฟาร์มและในโรงเรือน เพื่อช่วยป้องกันโรคและตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มเบื้องต้นได้    ปัจจุบัน ได้ติดตั้ง CCTV ในฟาร์มเกษตรกรแล้ว 90% คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2564 นี้ ส่วนระบบออโต้ฟีด (Auto Feeding Systems) ติดตั้งในฟาร์มสุกรขุนของเกษตรกร 100% ทั่วประเทศแล้ว

ยกระดับ‼️ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม CPF ชูเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ สู่ฟาร์มอัจฉริยะ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)