Logo-CPF-small-65png
รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน กลับมาเจอกันอีกครั้งกับรวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 ตอนนี้ถือว่าเป็นตอนพิเศษที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยบทความที่ผ่านมาจะกล่าวถึงการป้องกันและควบคุมโรคเป็นส่วนใหญ่ แต่บทความนี้จะเล่าประสบการณ์ของฟาร์มเกษตรกรรายย่อยในประเทศหนึ่ง ขนาด 164 แม่ และ 300 แม่ที่ยังยืนหยัดอยู่ได้เป็นปกติมาถึง 60 วันและมากกว่า 1 ปีตามลำดับ ในขณะที่ฟาร์มรอบข้างในรัศมีไม่เกิน 170 ถึง 650 เมตร หมูทั้งหมดถูกทำลายไปมากกว่า 3,000 ตัว ตามมาตรการลดความเสี่ยงจากโรคระบาด  ซึ่งฟาร์มทั้งสองแห่งนี้ใช้ระบบการเลี้ยงแบบโรงเรือนปิดหรือที่เรียกว่าโรงเรือนอีแว๊ป และนั้นดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากหากเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรคโควิด 19 ในคนในปัจจุบันเพราะเปรียบเสมือนมีโควิด 19 เกิดขึ้นที่ปากซอยหน้าบ้านเลยที่เดียว เรามาติดตามกันดูนะว่าเกษตรกรรายย่อยเหล่านั้นรอดพ้นภัยร้ายครั้งนี้มาได้อย่างไร เริ่มต้นจากทีมสัตวแพทย์​และผู้ดูแลโครงการลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู​ แจ้งสถานการณ์​ความเสี่ยงให้เกษตรกรทราบ เพื่อขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้ปฏิบัติ​ตามข้อแนะนำการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด​ และมีทีมงานตรวจติดตามการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด​ โดยไม่เข้าไปในเขตฟาร์ม​ของเกษตรกร ความร่วมมือแรกที่ขอจากเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูคือ การให้คนงานในฟาร์มพักในที่พักของฟาร์มเท่านั้นยกเว้นกรณีจำเป็นต้องออกไปภายนอกก็จะต้องแจ้งให้ทราบ เพื่อจะได้หามาตรการป้องกันการนำเชื้อโรคกลับเข้ามาในฟาร์ม โดยพนักงานเลี้ยงหมูทุกคนก่อนเข้าปฏิบัติงานในเล้าหมู ต้องถอดรองเท้าและเสื้อผ้าที่ใช้ภายนอกฟาร์มออก แล้วอาบน้ำและเปลี่ยนชุดก่อนเสมอ และใช้รองเท้าบู้ทเฉพาะที่ใช้ในฟาร์มเท่านั้นโดยก่อนเข้าฟาร์มต้องจุ่มรองเท้าบู้ทในน้ำย่าเชื้อ 2 ครั้ง ที่หน้าห้องอาบน้ำและครั้งที่ 2 […]

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน Read More »

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน           ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ของเกษตรกรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ภายในโรงเรือนปิด ที่เรียกว่า Evaporative Cooling System หรือที่นิยมเรียกกันว่า โรงเรือนอีแวป (Evap) ซึ่งทำให้แม่ไก่อยู่สบายมากขึ้นในช่วงที่อากาศภายนอกเล้า สูงกว่า 35 C ทำให้ผลกระทบเรื่องอากาศร้อนต่อการให้ผลผลิตของแม่ไก่น้อยกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนเปิด ปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของแม่ไก่ อยู่แล้วสบาย จะอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 C นอกจากไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อคอยช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ขนที่ปกคลุมอยู่บนตัวไก่ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในการระบายความร้อนของแม่ไก่ ดังนั้นเวลาที่อุณหภูมิภายในเล้าอยู่ที่ประมาณ 26-32 C แม่ไก่ก็จะกินอาหารได้ลดลง แต่จะกินน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกิน 35 C แม่ไก่ก็จะแสดงอาหารหอบ กางปีก หมอบกับพื้นกรง เกิดภาวะเครียดจากความร้อน หรือที่เรียกว่า Heat Stress (ขบวนการทางฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกินกว่า 39 C ก็จะมีผลทำให้แม่ไก่เริ่มทยอยตาย (ปกติอุณหภูมิร่างกายของไก่อยู่ที่ 41.2C) ผลของการเลี้ยงแม่ไก่ในเล้าที่มีอุณภูมิสูงหรือในสภาพอากาศร้อน 1.การให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดฟองไข่เล็กลง คุณภาพเปลือกด้อยลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารได้ลดลง ทำให้แม่ไก่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการสร้างไข่ 2.แม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน Read More »

CPF คำนึงถึงความปลอดภัยของแหล่งที่มาวัตถุดิบ ที่ไม่มาจากแหล่งที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อ ASF

CPF คำนึงถึงความปลอดภัยของแหล่งที่มาวัตถุดิบ ที่ไม่มาจากแหล่งที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อ ASF Read More »

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่            สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ชี้ไทยไม่เคยพบเชื้อไวรัส G4 ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่จีน ย้ำไม่ต้องกังวล ผู้บริโภคต้องสังเกตสัญลักษณ์ ปศุสัตว์ OK ก่อนซื้อ วันที่ 14 มกราคม 2564 ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวการเฝ้าระวังเชื้อไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ (G4 Eurasian Avian-like H1N1 Viruses) ที่เกิดการแพร่ระบาดครั้งแรกในหมูของประเทศจีนตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเชื้อนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2552 โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่พบเชื้อไวรัส G4 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส G4 ในประเทศไทย และยังไม่มีรายงานการระบาดจากคนสู่คน จึงยังไม่น่าเป็นกังวลต่อการระบาดของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ยังชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่เมื่อพบโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 มักถูกเรียกว่าโรคไข้หวัดหมูนั้น ความจริงแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกับหมู แต่เป็นการเรียกติดปากจากการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ H1N1

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี จากบทความแรกจนมาถึงบทความตอนที่ 3 ผู้เขียนหวังว่าผู้ประกอบการฟาร์มหมู ทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ คงพอได้แนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค ASF พอสมควร และหวังว่าท่านยังคงรอดพ้นจากภัย ASF อยู่ได้  สำหรับบทความตอนนี้เป็นการคาดการณ์ความเป็นไปของโรค ASF ในภายภาคหน้าซึ่งแม้ไม่ต้องการจะให้เกิดขึ้นจริง แต่ก็อยากให้ทุกท่านเตรียมใจและเตรียมการณ์ไว้ก่อนเพราะความไม่แน่นอนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ กรณีที่ว่านั้นก็คือถ้าประเทศไทยไม่สามารถหยุดยั้งโรค ASF เอาไว้ได้ และโรคมีการแพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ณ เวลานั้น เราจะมีแนวทางการบริหารจัดการอย่างไรได้บ้างตามหลักวิชาการ  เพื่อลดความเสียหายจากโรคให้น้อยที่สุด ทั้งในด้านงบประมาณในการป้องกันและควบคุมโรค การลดการสูญเสียจากการตายของหมูที่ป่วยเป็นโรค  การป้องกันและควบคุมไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นฟูให้ฟาร์มหมูสามารถกลับมาเลี้ยงหมูอีกครั้งได้อย่างปลอดภัย ในทางทฤษฏีการควบคุมโรค  ทำได้ค่อนข้างง่าย โดยอาศัยหลักการ รู้เร็ว จัดการเร็ว โรคจะจบเร็ว โดยการรู้เร็วหมายถึงการตรวจพบโรคให้ได้เร็วที่สุดตั้งแต่มีโรคระบาดในพื้นที่  จัดการเร็วหมายถึงการทำลายหมูป่วยเป็นโรค และการสืบสวนโรคหาหมูที่มีความเสี่ยงว่าจะสัมผัสโรคแล้วทำลายด้วยการฝังหรือเผา  เพื่อไม่ปล่อยให้หมูหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูที่มีความเสี่ยงหลุดรอดการตรวจสอบออกไปแพร่เชื้อโรคต่อได้ ซึ่งหากทำครบ 2 ประเด็นหลักที่กล่าวมา โรคก็จะจบได้อย่างรวดเร็ว ในบทความนี้ผู้เขียนขอใช้ประสบการณ์จากการทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค และข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงการระบาดของโรค ASF ในประเทศต่างๆ เพื่อสรุปเป็นทางเลือกสำหรับการควบคุมโรค ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี Read More »

Farm Talk คุยเฟื้องเรื่องฟาร์ม EP.17 ทิศทางธุรกิจอาหารสัตว์บกซีพีเอฟสู่ลูกค้าปี 2564

Farm Talk คุยเฟื้องเรื่องฟาร์ม EP.17 ทิศทางธุรกิจอาหารสัตว์บกซีพีเอฟสู่ลูกค้าปี 2564 Read More »

ตอบคำถามโรคปากและเท้าเปื่อย

ตอบคำถาม โรคปากและเท้าเปื่อย 1 ทำวัคซีนแล้ว แต่ทำไมวัวยังเป็นโรคปากเท้าเปื่อยอีก ความล้มเหลวในการทำวัคซีนเกิดได้จาก 3 ปัจจัย คือ ตัวสัตว์ วัคซีน และผู้ฉีดวัคซีน ตัวสัตว์ : อาจเกิดจากขณะทำการฉีดสัตว์ไม่พร้อมต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น สัตว์เครียดจากความร้อน หรือสัตว์ป่วย หรืออาจเกิดจากสัตว์ได้รับเชื้อขณะที่ภูมิคุ้มกันยังไม่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับป้องกันโรค หรือภูมิจากวัคซีนที่ฉีดกำลังหมดลง วัคซีน : อาจเกิดจากการเก็บรักษา หรือการขนส่งที่ไม่ดี หรือวัคซีนที่ฉีดนั้นมีเชื้อไม่ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาด ผู้ฉีดวัคซีน : ผู้ฉีดวัคซีนอาจฉีดไม่ถูกต้อง หรือฉีดไม่ครบโดส 2 มีวัวฟาร์มข้างๆ เป็นโรคปากเท้าเปื่อยแล้วจะทำวัคซีนดีไหม เมื่อเกิดการระบาดในพื้นที่ ให้ทำวัคซีนไทป์เดียวที่กำลังระบาด หากเพิ่งทำการฉีดวัคซีนไทป์รวมไป ให้ฉีดวัคซีนไทป์เดียวตามภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า วัคซีนอาจป้องกันให้สัตว์ไม่แสดงอาการของโรคหรือแสดงอาการไม่รุนแรง แต่สัตว์ตัวนั้นๆอาจมีการติดเชื้อภายในร่างกาย 3 วัวเป็นปากเท้าเปื่อยแล้ว แยกรีดแล้วนมตัวอื่นยังส่งนมได้ไหม ไม่ได้ เนื่องจากในฟาร์มที่มีวัวเป็นปากเท้าเปื่อย จะมีวัวส่วนหนึ่งที่มีเชื้อปากเท้าเปื่อย แต่ยังไม่แสดงอาการป่วย วัวเหล่านั้นสามารถ แพร่เชื้อออกจากร่างกาย และกระจายไปสู่ฟาร์มอื่น ทำให้เกิดการระบาดเป็นบริเวณกว้าง 4 ควรเลือกฉีดวัคซีนไทป์รวม หรือไทป์เดียว

ตอบคำถามโรคปากและเท้าเปื่อย Read More »

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19       คุณสะแวง เทียมเงิน ผู้บริหารงานด้าน CSR นำทีมจิตอาสา CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงวัย ในโครงการกองทุน ซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย มอบเครื่องอุปโภคบริโภค เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยซีพี ร่วมป้องกันโควิด-19 พร้อมปฏิทินปีใหม่ 2564 และเงินช่วยเหลือในเบื้องต้น ทั้งนี้ ผู้สูงวัยได้กล่าวขอบคุณ CPF ที่ให้ความช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง ขอให้กิจการรุ่งเรือง ผู้บริหารและพนักงานสุขภาพแข็งแรง     สำหรับโครงการกองทุนซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่รอบโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟ ที่ไม่มีลูกหลานดูแล ไม่มีรายได้เลี้ยงตัวเอง โดยผู้สูงอายุจะได้รับมอบเงินช่วยเหลือเดือนละ 2,000 บาท นับตั้งแต่ปี 2554- ปัจจุบัน มีจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฯ รวม 833 ราย./

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19 Read More »

CPF ร่วมกับมูลนิธิ LPN ส่งอาหารจากใจ ช่วยแรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร ต้านวิกฤต COVID-19

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย มอบให้มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network : LPN) ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เพื่อนำไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องแรงงานต่างด้าวและประชาชนที่ต้องกักตัวในหอพักที่ตลาดกลางกุ้ง ต.มหาชัย อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร ได้บริโภคอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ ร่วมสนับสนุนจังหวัดสมุทรสาครคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว พิธีมอบผลิตภัณฑ์อาหารและไข่ไก่ในวันนี้ จัดขึ้นที่สำนักงานมูลนิธิ LPN ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหาร 30,800 แพ็ค และไข่ไก่สด 10,000 ฟอง โดยมีนายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิ LPN เป็นผู้รับมอบจากนายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนายศรกฤษณ์ วัตตศิริ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารงานทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ นายสมพงค์กล่าวว่า อาหารที่ได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟ เป็นอีกหนึ่งความช่วยเหลือที่สำคัญในการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับแรงงานที่ต้องกักตัวและประชาชนที่อยู่ในบริเวณตลาดกลางกุ้ง มหาชัย รวมทั้งผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการประมาณ 4,000 คน

CPF ร่วมกับมูลนิธิ LPN ส่งอาหารจากใจ ช่วยแรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร ต้านวิกฤต COVID-19 Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)