โคนมสนทนา EP: 6 นมน้ำเหลืองดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

นมน้ำเหลืองดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

นมน้ำเหลือง คืออะไร

นมน้ำเหลืองประกอบไปด้วยสารอาหาร ได้แก่ น้ำตาล โปรตีน ไขมัน วิตามินแร่ธาตุ ซึ่งให้เนื้อนมรวมเข้มข้นกว่านมปกติทั่วๆไป โดยเฉพาะโปรตีนซึ่งทำหน้าที่ในการเป็นภูมิคุ้มกัน(immunoglobulin) ให้แก่ลูกโค ซึ่งภูมิคุ้มกัน เหล่านี้จะช่วยป้องกันลูกโคจากโรคติดเชื้อต่างๆจนกว่าลูกโคจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันของตัวเองขึ้นมาได้ ดังนั้นจึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมนมน้ำเหลืองจึงจำเป็นสำหรับลูกโคแรกเกิด

จัดการนมน้ำเหลืองอย่างไรให้ดี

หลักการจัดการนมน้ำเหลืองจะต้องคำนึงถึง 3 อย่าง ประกอบกัน คือ คุณภาพ ปริมาณ และ เวลา

  1. คุณภาพ : ในเบื้องต้นให้ตรวจด้วยตาเปล่า เช่น กลิ่นไม่เหม็น สีเหลืองอ่อน มีความข้นหนืดกว่านมปกติ สามารถตรวจคุณภาพได้ด้วยโคลอสโตมิเตอร์ (colosmeter)
  2. ปริมาณ : ลูกโคควรได้รับนมน้ำเหลืองปริมาณ 10% ของน้ำหนักตัว หรือ ประมาณ 3- 4 ลิตร ซึ่งสามารถแบ่งป้อนได้ หากลูกโคดูดนมไม่เก่ง มื้อที่สองให้หลังจากมื้อแรก 10 ชั่วโมง โดยให้นมปริมาณ 2 ลิตร
  3. เวลา : ลูกโคควรได้รับนมน้ำเหลืองเร็วที่สุดหลังคลอด อย่างช้าที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง เพราะยิ่งระยะเวลาผ่านไปลำไส้จะสามารถดูดซึมนมน้ำเหลืองได้ลดลง (ไม่ควรเกิน 4 ชั่วโมง)

จะทำอย่างไรเมื่อแม่โคให้นมน้ำเหลืองคุณภาพต่ำ

กรณีที่นมน้ำเหลืองที่ได้รับการแม่โคมีไม่พอ หรือได้รับนมน้ำเหลืองคุณภาพไม่ดี แนะนำให้ทำนมน้ำเหลืองแช่แข็งซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 เดือนในช่องแช่แข็ง โดยรีดนมน้ำเหลืองคุณภาพดีที่มีปริมาณมากเกินเก็บเอาไว้ในช่องแช่แข็งโดยกระบวนการเก็บต้องสะอาด นมน้ำเหลืองควรนำมาอุ่นโดยอุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ภูมิคุ้มกันเสียสภาพและถูกทำลายไปจนหมด ก่อนให้ลูกโคกินควรทิ้งให้มีอุณหภูมิประมาณ 37 องศาเซลเซียส หรือใกล้เคียงอุณหภูมิร่างกายลูกโค

อาหารที่เพิ่มคุณภาพนมแม่

          เนื่องจากนมน้ำเหลืองที่ดีมีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ เกิดจากแม่โคที่สุขภาพดี มีอาหารการกินและความเป็นอยู่ที่ดี ดังนั้น เกษตรกรผู้เลี้ยงจะต้องเอาใจใส่แม่โคในช่วงท้ายของการพักท้อง อาหารข้นที่ให้ในช่วง 1 เดือนก่อนคลอดควรเหมือนกับอาหารที่แม่โคจะได้รับในช่วงรีดนม แต่ให้ในปริมาณที่น้อยกว่า การเพิ่มอาหารช่วงก่อนคลอดควรกระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในสามวันให้เพิ่มไม่เกินครั้งละ 0.5 กก

 

 

 

การจัดการลูกโคแรกเกิด

เป้าหมายการจัดการลูกโคตั้งแต่แรกเกิด – 3 เดือนแรก เพื่อช่วยให้ลูกโคมีสุขภาพแข็งแรง มีการพัฒนาการของกระเพาะหมักที่ดี มีน้ำหนักช่วงหย่านมเป็น 2 เท่า ของน้ำหนักตัวแรกคลอด (อายุ 2 เดือน)  มีเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นโคสาวทดแทนฝูงที่เปี่ยมด้วยศักยภาพในอนาคต

  1. ช่วยชีวิตลูกโค

ทำการล้วงเอาเมือกหรือน้ำคร่ำออกจากช่องจมูกและช่องปาก

  1. จุ่มสายสะดือ

จุ่มสายสะดือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน กรณีสายสะดือเหลือยาวกว่า 4 นิ้ว ให้ตัดให้เหลือ 4 นิ้วแล้วทำการจุ่ม

จุ่มต่อเนื่องเช้าเย็น ตลอด 3 วันหลังคลอด หรือจนกว่าจะแห้ง

  1. ป้อนนมน้ำเหลือง
  2. โกนขนลูกโค เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากตัวโค
  3. 5. ป้อนนมขาว

ป้อนนมขาวมื้อละ 2.0 – 3.0 กก. ต่อมื้อเช้าเย็น (หากพบว่าถ่ายเหลวควรทำการลดปริมาณนม)

  1. สูญเขาด้วยวิธีการป้ายเขาด้วยสารเคมี ในช่วง 4-7 วันหลังคลอด หรือ สูญเขาด้วยความร้อนที่อายุ 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน
  2. การให้อาหารข้น

อาหารข้นควรมีโปรตีนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และไม่มียูเรียเป็นองค์ประกอบ การย่อยได้สูง ควรเริ่มให้ตั้งแต่ 4 วันหลังคลอด แรกเริ่มลูกโคจะกินยาก ใช้วิธีให้น้อยๆ แต่บ่อยครั้งเพื่อกระตุ้นการกิน ส่วนมากจะเริ่มกินได้ดีที่อายุ 7 วันเป็นต้นไป

  1. การหย่านม

ขณะหย่านมควรค่อยๆลดปริมาณน้ำนมลง ลูกโคควรกินอาหารข้นได้ประมาณ 1.2 กก./วัน นานต่อกัน 3 วัน เมื่อหย่านมแล้วจึงค่อยเปลี่ยนสถานที่เลี้ยง เพื่อลดความเครียดแก่ตัวโค

 ภาพการป้องน้ำนมเหลือง                                                                                                

 

 

ภาพน้ำนมเหลืองแช่แข็ง