Logo-CPF-small-65png

ASF

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน กลับมาเจอกันอีกครั้งกับรวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 ตอนนี้ถือว่าเป็นตอนพิเศษที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยบทความที่ผ่านมาจะกล่าวถึงการป้องกันและควบคุมโรคเป็นส่วนใหญ่ แต่บทความนี้จะเล่าประสบการณ์ของฟาร์มเกษตรกรรายย่อยในประเทศหนึ่ง ขนาด 164 แม่ และ 300 แม่ที่ยังยืนหยัดอยู่ได้เป็นปกติมาถึง 60 วันและมากกว่า 1 ปีตามลำดับ ในขณะที่ฟาร์มรอบข้างในรัศมีไม่เกิน 170 ถึง 650 เมตร หมูทั้งหมดถูกทำลายไปมากกว่า 3,000 ตัว ตามมาตรการลดความเสี่ยงจากโรคระบาด  ซึ่งฟาร์มทั้งสองแห่งนี้ใช้ระบบการเลี้ยงแบบโรงเรือนปิดหรือที่เรียกว่าโรงเรือนอีแว๊ป และนั้นดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากหากเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรคโควิด 19 ในคนในปัจจุบันเพราะเปรียบเสมือนมีโควิด 19 เกิดขึ้นที่ปากซอยหน้าบ้านเลยที่เดียว เรามาติดตามกันดูนะว่าเกษตรกรรายย่อยเหล่านั้นรอดพ้นภัยร้ายครั้งนี้มาได้อย่างไร เริ่มต้นจากทีมสัตวแพทย์​และผู้ดูแลโครงการลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู​ แจ้งสถานการณ์​ความเสี่ยงให้เกษตรกรทราบ เพื่อขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้ปฏิบัติ​ตามข้อแนะนำการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด​ และมีทีมงานตรวจติดตามการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด​ โดยไม่เข้าไปในเขตฟาร์ม​ของเกษตรกร ความร่วมมือแรกที่ขอจากเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูคือ การให้คนงานในฟาร์มพักในที่พักของฟาร์มเท่านั้นยกเว้นกรณีจำเป็นต้องออกไปภายนอกก็จะต้องแจ้งให้ทราบ เพื่อจะได้หามาตรการป้องกันการนำเชื้อโรคกลับเข้ามาในฟาร์ม โดยพนักงานเลี้ยงหมูทุกคนก่อนเข้าปฏิบัติงานในเล้าหมู ต้องถอดรองเท้าและเสื้อผ้าที่ใช้ภายนอกฟาร์มออก แล้วอาบน้ำและเปลี่ยนชุดก่อนเสมอ และใช้รองเท้าบู้ทเฉพาะที่ใช้ในฟาร์มเท่านั้นโดยก่อนเข้าฟาร์มต้องจุ่มรองเท้าบู้ทในน้ำย่าเชื้อ 2 ครั้ง ที่หน้าห้องอาบน้ำและครั้งที่ 2 […]

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี จากบทความแรกจนมาถึงบทความตอนที่ 3 ผู้เขียนหวังว่าผู้ประกอบการฟาร์มหมู ทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ คงพอได้แนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค ASF พอสมควร และหวังว่าท่านยังคงรอดพ้นจากภัย ASF อยู่ได้  สำหรับบทความตอนนี้เป็นการคาดการณ์ความเป็นไปของโรค ASF ในภายภาคหน้าซึ่งแม้ไม่ต้องการจะให้เกิดขึ้นจริง แต่ก็อยากให้ทุกท่านเตรียมใจและเตรียมการณ์ไว้ก่อนเพราะความไม่แน่นอนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ กรณีที่ว่านั้นก็คือถ้าประเทศไทยไม่สามารถหยุดยั้งโรค ASF เอาไว้ได้ และโรคมีการแพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ณ เวลานั้น เราจะมีแนวทางการบริหารจัดการอย่างไรได้บ้างตามหลักวิชาการ  เพื่อลดความเสียหายจากโรคให้น้อยที่สุด ทั้งในด้านงบประมาณในการป้องกันและควบคุมโรค การลดการสูญเสียจากการตายของหมูที่ป่วยเป็นโรค  การป้องกันและควบคุมไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นฟูให้ฟาร์มหมูสามารถกลับมาเลี้ยงหมูอีกครั้งได้อย่างปลอดภัย ในทางทฤษฏีการควบคุมโรค  ทำได้ค่อนข้างง่าย โดยอาศัยหลักการ รู้เร็ว จัดการเร็ว โรคจะจบเร็ว โดยการรู้เร็วหมายถึงการตรวจพบโรคให้ได้เร็วที่สุดตั้งแต่มีโรคระบาดในพื้นที่  จัดการเร็วหมายถึงการทำลายหมูป่วยเป็นโรค และการสืบสวนโรคหาหมูที่มีความเสี่ยงว่าจะสัมผัสโรคแล้วทำลายด้วยการฝังหรือเผา  เพื่อไม่ปล่อยให้หมูหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูที่มีความเสี่ยงหลุดรอดการตรวจสอบออกไปแพร่เชื้อโรคต่อได้ ซึ่งหากทำครบ 2 ประเด็นหลักที่กล่าวมา โรคก็จะจบได้อย่างรวดเร็ว ในบทความนี้ผู้เขียนขอใช้ประสบการณ์จากการทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค และข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงการระบาดของโรค ASF ในประเทศต่างๆ เพื่อสรุปเป็นทางเลือกสำหรับการควบคุมโรค ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค ข้อมูลในเชิงวิชาการพบว่าโรคระบาด ASF ที่พบได้ทุกประเทศทั่วโลก มักเกิดกับผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหรือผู้เลี้ยงหมูที่ไม่มีระบบการป้องกันโรคทีดีก่อนเสมอ  ดังได้กล่าวแล้วในบทความที่ 1 ดังนั้นหากมีคำถามว่าในฐานะผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมูของประเทศ พวกเราจะช่วยผู้เลี้ยงหมูรายย่อยให้ปลอดภัยได้อย่างไร เพราะเมื่อมีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยติดโรค ความเสี่ยงก็จะเกิดกับผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในเมื่อเราท่านทราบดีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเหล่านั้นล้วนขาดความพร้อมทั้งด้าน การเข้าถึงข้อมูล งบประมาณ และองค์ประกอบพื้นฐานด้านการป้องกันโรค จากคำถามที่ท้าทายแบบนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางออก เพียงแต่ทางออกนั้นต้องอาศัยผู้เลี้ยงหมูมีความพร้อมมากกว่า หรือผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจหมู เขาไปให้ความช่วยเหลือตามแนวทางดังนี้ เริ่มต้นจากต้องผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจฟาร์มหมูต้องร่วมกันไปให้องค์ความรู้กับผู้เลี้ยงหมูรายย่อยให้ทำในสิ่งที่ตัวตัวผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเองทำได้เป็นเบื้องต้นด้านการป้องกันโรค ในเรื่องต่อไปนี้ ไม่ใช้เศษอาหารจากครัวเรือนเลี้ยงหมู เพราะเศษอาหารเหล่านี้อาจมีเนื้อหมูที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคหรือหากจำเป็นต้องใช้ต้องต้มให้เดือดอย่างน้อย 30 นาที เมื่อผู้เลี้ยงหมูรายย่อยออกไปทำธุระภายนอกฟาร์ม ก่อนเข้ามาเลี้ยงหมูต้องอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้า ก่อนเสมอ ไม่ให้คนภายนอกเข้าเล้าหมูตนเองโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้าซื้อหมู โดยอาจเจรจาตกลงซื้อขายด้วยแอบปิเคชั่นบนมือถือ ไม่ให้รถรับซื้อหมูและคนซื้อหมูเข้ามาถึงในเล้าโดยอาจใช้วิธีการต้อนหมูให้ห่างจากเล้าเพื่อไปขึ้นรถจับหมูโดยเจ้าของเล้าต้องไม่ไปสัมผัสกับรถที่มาซื้อหมู ไม่ซื้อหมูจากพื้นที่มีความเสี่ยงจากโรคระบาดเข้ามาเลี้ยง อีกทั้งไม่ซื้อเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูจากภายนอกมาบริโภคในฟาร์ม งดการขายมูลหมูจากรถรับซื้อที่ไปรับซื้อมูลจากหลายๆ ฟาร์มในช่วงเวลาการระบาดของโรค ระมัดระวังการไปซื้อหัวอาหาร เช่น รำ และปลายข้าว จากโรงสีที่ทำธุรกิจเลี้ยงหมูในกรณีที่ฟาร์มและโรงสีอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพราะหัวอาหารเหล่านั้นอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้ หรืออาจติดเชื้อต่อเนื่องจากผู้เลี้ยงหมูรายย่อยอื่นที่เข้าไปรับซื้อหัวอาหารจากแหล่งเดียวกัน แจ้งปศุสัตว์ทันทีหากมีหมูตายเฉียบพลันหรือป่วยด้วยอาการไข้สูง ไอ แท้ง ขาหลังไม่มีแรง นอนสุมและท้องเสียเป็นเลือด

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 1 : มูลเหตุของปัญหาและหลักการควบคุมโรค

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 1 : มูลเหตุของปัญหาและหลักการควบคุมโรค   ยังคงเป็นประเด็นร้อนในทุกประเทศของเอเชีย เกี่ยวกับโรค ASF บทความนี้จะไม่ขอกล่าวถึงการป้องกันโรคเพราะเชื่อมั่นว่ากลุ่มฟาร์มขนาดกลางและใหญ่ส่วนมากก็ดำเนินการได้เป็นอย่างดี สามารถป้องกันฟาร์มของตนเองจากโรคนี้ได้ ด้วยการใช้หลักการการป้องกันโรคทั่วไปของฟาร์ม จึงทำให้ฟาร์มมักรอดพ้นจากโรค ส่วนฟาร์มที่มักติดโรค ก่อนเสมอในแต่ละเขตพื้นที่ มักเป็นฟาร์มผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ที่แทบจะกล่าวได้ว่าเป็นฟาร์มที่ไม่มีระบบป้องกันโรคที่ดีและเพียงพอที่จะป้องกันโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหลายรายที่อยากจะปรับปรุงพัฒนาระบบป้องกันโรคให้ได้เหมือนฟาร์มขนาดใหญ่ แต่ก็ขาดเงินลงทุน ทำให้ขาดความพร้อมด้านโครงสร้างฟาร์มที่จะช่วยในการป้องกันโรค อย่างเช่น การก่อสร้างรั้วให้ได้มาตรฐานที่สามารถป้องกันสัตว์พาหะ หรือการทำโรงเรือนให้เป็นระบบปิดปรับอากาศหรือที่เรียกว่าอีแว็ป หรือมีมุ้งป้องกันแมลงวันที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากฟาร์มหมูที่ป่วย หรือการสร้างเล้าขายหมูที่แยกออกมาจากฟาร์ม เพื่อป้องกันไม่ให้คนภายนอกเข้าไปรับซื้อหมูถึงหน้าเล้าและสัมผัสกับตัวหมูในฟาร์มโดยตรง หรือการไม่มีเงินที่จะขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อให้หมูบริโภค เลยต้องใช้น้ำผิวเดินที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากการที่มีผู้นำเอาหมูป่วยตายมาทิ้งลงแหล่งน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ จากปัญหาด้านงบลงทุนของผู้เลี้ยงหมูรายย่อย จึงมักพบความเสี่ยงต่อการนำโรคเข้าฟาร์มคือ แหล่งวัตถุดิบของอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรและแหล่งรับการผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์เร่ผสม กรณีความเสี่ยงจากวัตถุดิบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้เศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยง หรือการใช้แหล่งอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อ เช่น ต้องไปซื้อหัวอาหารจากโรงสีที่ทำฟาร์มเลี้ยงหมูอยู่ที่เดียวกัน หรือไปซื้ออาหารจากร้านขายอาหารที่ทำธุรกิจชำแหละหมูร่วมด้วย เป็นต้น ส่วนกรณีความเสี่ยงจากแหล่งพ่อพันธุ์ที่นำมาใช้ผสมพันธุ์ในฟาร์ม เกิดจากผู้เลี้ยงรายย่อยไม่มีเงินทุนพอที่จะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้ใช้เองในฟาร์ม เลยต้องรับบริการผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์รถเร่ที่รับผสมพันธุ์ร่วมกกันจากหลายฟาร์ม เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการติดโรคในสุกรของผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ และที่สำคัญการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารโรคระบาดของผู้เลี้ยงหมูรายย่อย อาจเข้าถึงได้น้อยกว่าผู้เลี้ยงรายกลางและใหญ่ ทำให้ไม่มีการเฝ้าระวังโรคจากฟาร์มข้างเคียงได้รวดเร็วพอ กว่าจะรู้ว่ามีหมูป่วยในพื้นที่ก็ปรากฏว่า โรคได้แพร่เข้าสู่ฟาร์มแล้ว ดังจากข่าวที่เราพบในต่างประเทศ เมื่อพบการเกิดโรคขึ้นจุดหนึ่ง พอตรวจประเมินฟาร์มที่อยู่ข้างเคียงก็มักจะพบหมูติดเชื้อไปแล้วเป็นส่วนใหญ่

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 1 : มูลเหตุของปัญหาและหลักการควบคุมโรค Read More »

cpf ai farmlab

CPF AI FarmLAB นวัตกรรมป้องกันโรค New Technology

CPF Ai FarmLAB                                                หนึ่งในความปรารถนาดีจาก CPF เพื่อให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรสามารถผ่านวิกฤตและความกังวลเรื่อง ASF (โรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์) ที่กำลังประชิดติดชายแดนไทยอยู่ในขณะนี้ จากข้อมูลการเกิดโรคระบาดของฟาร์มในประเทศไทยพบว่า 67% โรคเข้าฟาร์มเนื่องจากกระบวนการขาย จุดส่งสุกร (Load Out) ที่เล้าขายจึงเป็นพื้นที่เสี่ยงที่สุดที่จะเป็นทางผ่านของ ASF สู่พื้นที่เล้าขายและเนื่องจาก ASF เป็นโรคที่ติดต่อได้ผ่านการสัมผัสเท่านั้น ช่องทางที่โรคผ่านเล้าขายได้จึงเป็นเรื่องของการสัมผัสโดยตรงไม่ว่าจะเป็นพนักงานเล้าขายกับพนักงานที่มากับรถขนส่ง อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันหรือแม้กระทั่งใบส่งของที่ส่งให้กัน ฯลฯ เมื่อเชื้อโรคมาถึงเล้าขายด่านต่อไปคือการเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยง นั่นคือจุดรับสุกรสู่เล้าขาย (Load In) ซึ่งมีโอกาสเกิดการสัมผัสกันของพนักงานเล้าขายที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคกับพนักงานส่งสุกรจากโรงเรือนเลี้ยงสุกรและเมื่อเชื้อโรคเดินทางไปถึงโรงเรือนเลี้ยงได้เมื่อไหร่การระบาดในฟาร์มก็อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราตั้งใจพัฒนาระบบป้องกันโรคเข้าฟาร์ม ด้วยหลักคิดจากทั้งสองเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้วคือ ASF ติดต่อผ่านการสัมผัสเท่านั้นและเล้าขายเป็นจุดเสี่ยงที่สุดที่จะเป็นทางผ่านของโรคเข้าสู่ฟาร์ม

CPF AI FarmLAB นวัตกรรมป้องกันโรค New Technology Read More »

มาตรการป้องกันโรคควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF)

มาตราการป้องกันและควบคุมโรค อหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ทางทีมงานได้รวบรวมคู่มือและมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกัน ( ASF ) สำหรับลูกค้าอาหารสัตว์ เพื่อเผยแพร่และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น ภายในการเข้าถึงเพียงช่องทางเดียว สามารถกดเพื่ออ่านข้อมูลแนวทางการป้องกันโรค ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถที่จะดาวน์โหลดเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ หรือส่งต่อให้กับคนในครอบครัวเพื่อรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญการของทางภาครัฐ และภาคเอกชน ข้อมูลเหล่านี้แผยแพร่ฟรี ห้ามใช้เพื่อการค้าใดใดทั้งสิ้น ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลที่นี่ * ที่มาทีมสัตวแพทย์บริการวิชาการ สายธุรกิจสุกรซีพีเอฟ

มาตรการป้องกันโรคควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)